วันศุกร์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2558
วันจันทร์ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2556
แผนการสอนตามหลักปรัญาเศรษฐกิจพอเพียง
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระราชทานแก่ปวงชนชาวไทยนั้น
เป็นปรัชญาการดำเนินชีวิตที่มุ่งสร้างความสมดุล และไม่ให้ตั้งอยู่ในความประมาท ซึ่งมีความสอดคล้องกับการดูแรรักษาสุขภาพร่างกาย
จิตใจ อารมณ์ สังคม และสติปัญญาของมนุษย์ด้วย
ที่จะดำรงตนอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข ภายใต้ 3 ห่วง 2
เงื่อนไข ดังนี้
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ภายใต้ 3 ห่วง 2 เงื่อนไข
|
การสอนพลศึกษา
เพื่อดูแลรักษาสุขภาพร่างกายและจิตใจ
โดยใช้กิจกรรมทางพลศึกษาเป็นสื่อ
|
1. พอประมาณ คือ การรู้ตน ทำสิ่งใดก็ตามให้พอเหมาะพอสมกับฐานะอัตภาพ
|
1.
ให้ผู้เรียนมีการพัฒนาการตามวัย ดูแลรักษา
สุขภาพกายและจิตใจของตนเองได้
2.
ผู้เรียน สำรวจตนเองด้านการกิน อยู่ หลับนอน ออกกำลังกาย ในชีวิตประจำวันได้เหมาะสมตามสภาวะของสุขภาพที่จะเอื้ออำนวย
3.
ผู้เรียน เรียนรู้และเข้าใจถึงความผิดปกติที่เกิดขึ้นแก่ร่างกาย
ทั้งที่มีเชื้อโรคเป็นสาเหตุ หรือเกิดจากความผิดปกติของร่างกายตนเองก็ตาม
4.
ผู้เรียน ปรับตัวเข้ากับสภาพของสังคมที่เปลี่ยนแปลงได้ โดยไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อนและเป็นไปตามกติกา
ระเบียบสังคม
5.
ผู้เรียน รู้ถึงความบกพร่อง เกณฑ์สมรรถภาพทางกายที่เป็นอยู่
ควรได้รับการพัฒนาเสริมสร้างให้ คงสภาพ หรือการดำรงอยู่ของชีวิตที่ยืนยาว
|
2. มีเหตุผล คือ
ใช้สมอง สติปัญญา คิดวิเคราะห์ ไตร่ตรอง พิจารณาทางเลือกที่เหมาะสมและดีที่สุด
สำหรับตนที่จะนำพาการดำเนินชีวิตไปในทางที่ถูกต้องและนำไปสู่สิ่งที่ดีกว่า
|
1.
ทางด้านสุขภาพและจิตใจยังมีการหลงเชื่อในสิ่งที่ไม่ถูกต้องอีกหลายเรื่อง
ดังนั้นผู้เรียนต้องใช้สมอง สติปัญญา พิจารณา ใคร่ครวญ ไตร่ตรอง อย่างมีเหตุผล เพื่อการดูแลรักษาสุขภาพตนเองได้ตามหลักวิชาการ
หรือทางวิทยาศาสตร์ที่สามารถพิสูจน์ได้
|
3. มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี
คือ
ความไม่ประมาทในการที่จะกระทำสิ่งใดๆ ก็ตาม
ต้องหามาตรการป้องกันไว้ก่อนที่จะเกิดอันตรายร้ายแรง
|
1.
สอดคล้องกับความปลอดภัยในการดำเนินชีวิตประจำวัน ที่ต้องตั้งอยู่บนความไม่ประมาท ที่เกี่ยวข้องและรู้ถึงเหตุได้ชัด
ด้านสุขภาพร่างกาย การออกกำลัง ต้องคำนึงถือความปลอดภัย เป็นสำคัญ
ตั้งแต่สำรวจความพร้อมของร่างกาย มีโรคประจำตัวหรือการเจ็บป่วยเดิมหรือไม่ ถ้ามีต้องปรึกษาแพทย์ก่อน
หรือตรวจสอบชุดเครื่องแต่งกายให้เหมาะสมกับกีฬา
|
|
หรือการออกกำลังกายชนิดนั้น ๆ การตรวจสอบวัสดุ อุปกรณ์ที่ใช้เล่นกีฬา
ออกกำลังกาย ให้อยู่ในสภาพพร้อม
ใช้งาน ไม่เกิดอันตราย
รวมทั้งการใช้ชีวิตประจำวัน ด้านอุบัติเหตุจากการจราจร ความปลอดภัยในการประกอบอาชีพ โรคที่เกิดจากการทำงาน สิ่งดังกล่าวมาแล้ว ทั้งหมด
ต้องมีภูมิคุ้มกัน คือ ตั้งอยู่บนความไม่ประมาท
|
เงื่อนไขที่สำคัญ
1. ความรู้ คือ
มนุษย์เราต้องเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา และตลอดชีวิต
ซึ่งจะทำให้มีความรอบรู้ รอบคอบ
ระมัดระวัง ไม่หลงเชื่ออะไรง่าย ๆ
โดยต้องลงมือศึกษาให้รู้แจ้งเห็นจริงในเรื่องนั้น ๆ ก่อนที่จะลงมือทำจริง
|
ปลูกฝัง สร้างเจตคติที่ดีด้านคุณลักษณะ (Trait) สุขนิสัย (Habit) ที่มีอนามัย (Hygiene) เพื่อการรักษาสุขภาพกายและจิตใจ ให้ดำรงอยู่ในสุขภาพที่สมบูรณ์ แข็งแรง
ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บรวมทั้งอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข
อันมีความหมายตรงกับ สุขภาพ (Health) อีกทั้งยังตรงกับจุดมุ่งหมายของ การศึกษาแห่งชาติ ที่มุ่งสร้างทรัพยากรมนุษย์ให้เป็นคนดี คนเก่ง
และมีความสุข เพื่อการเป็นพลเมืองดีและ พลเมืองโลก
|
2.
คุณธรรม คือ ความซื่อสัตย์สุจริต
ไม่เบียดเบียนหรือเอาเปรียบผู้อื่น รู้จักแบ่งปันช่วยเหลือสังคม หรือผู้ด้อยโอกาส
เมื่อเรามีมากกว่าหรือพอที่จะช่วยเหลือได้ โดยไม่ลำบากยากเข็ญ
|
เป็นเรื่องเกี่ยวกับการดำเนินชีวิตในสังคมให้อยู่อย่างมีความสุข
โดยใช้คุณธรรมความดีงามนำหน้า เพื่อการใช้ชีวิตอยู่ในกฎ กติกา ระเบียบของสังคม เมื่อนำมาเทียบเคียงกับการจัดพลศึกษาในสถานศึกษาให้แก่ ผู้เรียน
พบว่า มีการสอดแทรกและบูรณาการที่เกี่ยวกับการรู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย
มีน้ำใจนักกีฬา มีความสมัครสมานสามัคคี เล่นกีฬาและออกกำลังกายตามกฎ กติกา
ระเบียบวิธีปฏิบัติ รวมทั้งการสร้างคุณลักษณะที่พึงประสงค์ให้ผู้เรียน
ด้านการมีวินัย ความรับผิดชอบ ซื้อสัตย์สุจริต ตรงต่อเวลา
บริการผู้อื่นด้วยจิตใจที่เป็นสาธารณะ (Service mind) เป็นต้น
|
วันอาทิตย์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2555
คุณภาพผู้เรียน
คุณภาพผู้เรียน
จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
- เข้าใจและเห็นความสำคัญของปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการที่มีต่อสุขภาพและชีวิตในช่วงวัยต่างๆ
- เข้าใจ
ยอมรับ และสามารถปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์
ความรู้สึกทางเพศ ความเสมอภาคทางเพศ สร้างและรักษาสัมพันธภาพกับผู้อื่น
และตัดสินใจแก้ปัญหาชีวิตด้วยวิธีการที่เหมาะสม
- เลือกกินอาหารที่เหมาะสม ได้สัดส่วน
ส่งผลดีต่อการเจริญเติบโตและพัมนาการตามวัย
- มีทักษะในการประเมินอิทธิพลทางเพศ
เพื่อน ครอบครัว ชุมชน และวัฒนธรรม ที่มีต่อเจตคติ ค่านิยม
เกี่ยวกับสุขภาพและชีวิต และสามารถจัดการได้อย่างเหมาะสม
- ป้องกันและหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง
พฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพและการเกิดโรค อุบัติเหตุ การใช้ยา สารเสพติด และควารมรุนแรง
รู้จักสร้างเสริมความปลอดภัยให้แก่ตนเอง ครอบครัวและ ชุมชน
- เข้าร่วมกิจกรรมทางกาย กิจกรรมกีฬา
กิจกรรมนันทนาการ กิจกรรมสร้างเสริมสมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพ โดยนำหลักการของทักษะทางกลไกมาใช้ได้อย่างปลอดภัย
สนุกสนาน และปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ ตามความถนัดและความสนใจ
- แสดงความตระหนักในความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมสุขภาพ
การป้องกันโรค การดำรงสุขภาพ การจัดการกับอารมณ์และความเครียด
การออกกำลังกายและการเล่นกีฬากับการมีวิถีชีวิตที่มีสุขภาพดี
- สำนึกในคุณค่า ศักยภาพ
และความเป็นตัวของตัวเอง
- ปฏิบัติตามกฎ กติกา หน้าที่ความรับผิดชอบ
เคารพสิทธิของตนเองและผู้อื่น
ให้ความร่วมมือในการแข่งขีนกีฬาและทำงานเป้นทีมอย่างเป้นระบบ
ด้วยความมุ่งมั่นและมีน้ำใจนักกีฬา จนประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย ด้วยความชื่นชมและสนุกสนาน
จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
- สามารถดูแลสุขภาพ สร้างเสริมสุขภาพ
ป้องกันโรค หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงและพฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ
อุบัติเหตุ การใช้ยา สารเสพติดและความรุนแรงได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยการวางแผนอย่างเป้นระบบ
อุบัติเหตุ การใช้ยา สารเสพติดและความรุนแรงได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยการวางแผนอย่างเป้นระบบ
- แสดงออกถึงความรัก ความเอื้ออาทร
ความเข้าใจในอิทธิพลของครอบครัว เพื่อน สังคม และวัฒนธรรม ที่มี
ต่อพฤติกรรมทางเพศ การดำเนิชีวิต และวิถีชีวิตที่มีสุขภาพดี
ต่อพฤติกรรมทางเพศ การดำเนิชีวิต และวิถีชีวิตที่มีสุขภาพดี
- ออกกำลังกาย เล่นกีฬา
เข้าร่วมกิจกรรมนันทนาการ กิจกรรมสร้างเสริมสมรรถภาพ เพื่อสุขภาพโดยนำหลัก
การของทักาะทางกลไกมาใช้ได้อย่างถูกต้อง สม่ำเสมอ ด้วยความชื่นชมและสนุกสนาน
การของทักาะทางกลไกมาใช้ได้อย่างถูกต้อง สม่ำเสมอ ด้วยความชื่นชมและสนุกสนาน
- แสดงความรับผิดชอบ ให้ความร่วมมือ
และปฏิบัติตามกฎ กติกา สิทธิ
หลักความปลอดภัย ในการเข้าร่วม
กิจกรรมทางกายและเล่นกีฬา จนประสบความสำเร็จตามเป้าหมายของตนเองและทีม
กิจกรรมทางกายและเล่นกีฬา จนประสบความสำเร็จตามเป้าหมายของตนเองและทีม
- แสดงออกถึงการมีมารยาทในการดู การเล่น
และการแข่งขันด้วยความมีน้ำใจนักกีฬาและนำไปปฏิบัติในทุก
โอกาส จนเป็นบุคคลิกภาพที่ดี
โอกาส จนเป็นบุคคลิกภาพที่ดี
-
วิเคราะห์และประเมินสุขภาพส่วนบุคคลเพื่อกำหนดกลวิธีลดความเสี่ยง สร้างเสริมสุขภาพ ดำรงสุขภาพ
การป้องกันโรค และการจัดการกับอารมณ์และความเครียด ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
การป้องกันโรค และการจัดการกับอารมณ์และความเครียด ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
- ใช้กระบวนการทางประชาสังคม
สร้างเสริมให้ชุมชนเข้มแข็ง
ปลอดภัยและมีวิถีชีวิตที่ดี
สาระและมาตรฐานการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา
สาระและมาตรฐานการเรียนรู้
สาระที่
1 การเจริญเติบโตและพัฒนาการของมนุษย์
มาตรฐาน พ 1.1
เข้าใจธรรมชาติของการเจริญเติบโตและพัฒนาการของมนุษย์
สาระที่ 2 ชีวิตและครอบครัว
มาตรฐาน พ 2.1 เข้าใจและเห็นคุณค่าตนเอง ครอบครัว เพศศึกษา
และมีทักษะในการดำเนินชีวิต
สาระที่ 3 การเคลื่อนไหว
การออกกำลังกาย การเล่นเกม กีฬาไทย กีฬาสากล
มาตรฐาน พ 3.1
เข้าใจ มีทักษะในการเคลื่อนไหว กิจกรรมทางกาย การเล่นเกมและกีฬา
มาตรฐาน พ 3.2
รักการออกกำลังกาย การเล่นเกม และการเล่นกีฬา ปฏิบัติเป็นประจำและสม่ำเสมอ มีวินัย เคารพสิทธิ กฎ กติกา
มีน้ำใจนักกีฬา มีจิตวิญญาณ ใน
การแข่งขัน และชื่นชมในสุนทรียภาพของการกีฬา
สาระที่ 4 การสร้างเสริมสุขภาพ
สมรรถภาพ และการป้องกันโรค
มาตรฐาน พ 4.1
เห็นคุณค่าและมีทักษะในการสร้างเสริมสุขภาพ การดำรงสุขภาพ การป้องกันโรค และการสร้างเสริมสมรรถภาพเพื่อสุขภาพ
สาระที่ 5 ความปลอดภัยในชีวิต
มาตรฐาน พ 5.1
ป้องกันและหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง พฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ อุบัติเหตุ การใช้ยา สารเสพติด และความรุนแรง
วันอาทิตย์ที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2555
แผนการจัดการเรียนรู้
หน่วยการเรียนรู้ที่1วัยและการเปลี่ยนแปลง เวลา
4 ชั่วโมง
1. มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด
การเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย
จิตใจ อารมณ์ สังคม และสติปัญญาในแต่ละช่วงของชีวิต จะทำให้เราเข้าใจพัฒนาการของแต่ละด้านในแต่ละช่วงวัยของชีวิต
3. สาระการเรียนรู้
3.1 สาระการเรียนรู้แกนกลาง
Ÿ การเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย
จิตใจ อารมณ์ สังคม และสติปัญญาในแต่ละวัย
- วัยทารก - วัยก่อนเรียน
- วัยเรียน - วัยรุ่น
- วัยผู้ใหญ่ - วัยสูงอายุ
3.2 สาระการเรียนรู้ท้องถิ่น
(พิจารณาตามหลักสูตรสถานศึกษา)
4. สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
4.1 ความสามารถในการสื่อสาร
4.2 ความสามารถในการคิด
1) ทักษะการเปรียบเทียบ
2) ทักษะการนำความรู้ไปใช้
4.3 ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต
5. คุณลักษณะอันพึงประสงค์
1. มีวินัย
2. ใฝ่เรียนรู้
3. มุ่งมั่นในการทำงาน
4. มีความรับผิดชอบ
6. ชิ้นงาน/ภาระงาน (รวบยอด)
บันทึกผลการเปรียบเทียบวัยและการเปลี่ยนแปลง
7. การวัดและการประเมินผล
7.1 การประเมินก่อนเรียน
- ตรวจแบบทดสอบก่อนเรียน
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง วัยและการเปลี่ยนแปลง
7.2 การประเมินระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
1) ตรวจใบงานที่
1.1 เรื่องวัยและการเปลี่ยนแปลง
2) ตรวจใบงานที่ 1.2 เรื่อง
การเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ ของแต่ละวัย
3) ตรวจแบบบันทึกการอ่าน
4) ประเมินการนำเสนอผลงาน
5) สังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม
6) สังเกตคุณลักษณะอันพึงประสงค์
7.3 การประเมินหลังเรียน
- ตรวจแบบทดสอบหลังเรียน
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง วัยและการเปลี่ยนแปลง
7.4 การประเมินชิ้นงาน/ภาระงาน (รวบยอด)
- ตรวจบันทึกผลการเปรียบเทียบวัยและการเปลี่ยนแปลง
8. กิจกรรมการเรียนรู้
นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1เรื่อง วัยและการเปลี่ยนแปลง
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)